วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาและประวัติเพลงลูกทุ่ง (คร่าวๆ)

ก่อนที่เราจะไปฟังเพลงลูกทุ่ง ซึ่งอาจจะเก่า หรือจะใหม่ หรือจะฮิตมากฮิตน้อยยังไงนั้น เราไปทำความรู้จักความเป็นมาและประวัติเพลงลูกทุ่งกันก่อนนะครับ ว่าก่อนที่เพลงลูกทุ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาจนถึงปัจจุบันนี้ เกิดขั้นได้อย่างไร และมีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง?

ประวัติเพลงลูกทุ่ง (คร่าวๆ)


เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง

ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากล ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่

ส่วนคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง"

สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ในช่วงปี พ.ศ. 2506 –2513 จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง ได้เกิดการแข่งขัน และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน ต่อมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิต เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้น และเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบ จนในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่ เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง และมีการมอบรางวัลทางดนตรีลูกทุ่งอยู่หลายรางวัล

ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง


สำหรับธุรกิจเพลงลูกทุ่งในปัจจุบันถือเป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ภาคอีสาน 50% ภาคเหนือและภาคกลาง 35% และภาคใต้ 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มีแกรมมี่ โกลด์ ครองส่วนแบ่งการตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วนอาร์สยาม 19% และอื่นๆ 16% ซึ่งธุรกิจเพลงลูกทุ่งได้ขยายไปสู่ธุรกิจใกล้เคียงอย่างสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์

ดูประวัติเพลงลูกทุ่งแบบละเอียด เพิ่มเติมจาก วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น